งานที่5 (ฝึกงาน)

งาน5 ในสถานที่ฝึกงานของ นศ ใช้ระบบควบคุมคุณภาพอย่างไร

Quality Assurance (QA) กับ Quality Control (QC)

QC (Quality Control) หมายถึง การควบคุมคุณภาพสินค้าให้เป็นไปตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ และสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าสูงสุด ด้วยกระบวนการ Inspection คือกระบวนการการตรวจสอบตำหนิและจุดบกพร่องของผลิตภัณฑ์ เพื่อที่จะทำการส่งกลับไปแก้ไขหรือคัดทิ้ง จากนั้นจึงทำการบันทึกและเก็บสถิติของลักษณะรวมทั้งจำนวนผลิตภัณฑ์ต่างๆที่เกิดการบกพร่อง สำหรับนำไปวิเคราะห์สาเหตุปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น แล้วจึงทำการแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้ผู้ผลิตสามารถทำการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับคุณสมบัติที่ตั้งไว้มากที่สุดต่อไป
QA (Quality Assurance) หมายถึง กระบวนการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพของสินค้า ด้วยการวิเคราะห์หาสาเหตุข้อบกพร่องและความผิดพลาดของผลิตภัณฑ์จากเอกสาร work instructions โดยใช้แนวคิด “Do it right the first time.” มาเป็นหลักในการผลิตสินค้า ซึ่งจะเป็นกระบวนการที่แตกต่างจาก QC เนื่องจากเป็นการตรวจสอบกระบวนการผลิตตั้งแต่เริ่มต้นจากเอกสาร แทนการคัดแยกของเสียออกจากของดีในขั้นตอนสุดท้าย ที่เป็นการเพิ่มต้นทุนและเสียเวลาโดยใช่เหตุ
จะเห็นได้ว่าทั้งกระบวนการ การตรวจสอบและการควบคุมคุณภาพ (QC) และ การประกันคุณภาพ (QA) นั้นต่างเป็นกระบวนการตรวจสอบเพื่อทำการป้องกัน (Prevention) การเกิดความผิดพลาดที่สามารถส่งผลต่อคุณภาพของสินค้าและบริการในทุกด้าน โดยที่ QC จะให้ความสนใจในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ ส่วน QA จะสนใจวงจรคุณภาพ (Quality Loop) เป็นหลัก
การควบคุม (control) หมายถึง การบังคับให้กิจกรรมต่างๆ สามารถดำเนินการได้ตามกระบวนการที่วางไว้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการผลิตที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพสูงสุด
คุณภาพ (quality) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ถูกผลิตให้มีความเหมาะสมกับการใช้งาน (fineness for use) มีการออกแบบที่ดี (quality of design) และมีการผลิตที่ได้มาตรฐาน โดยลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ได้ต้องมีความมั่นคงคงทน มีรูปร่างสวยงาม สามารถใช้ได้ดี และไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน

คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ

  • สามารถปฏิบัติงานได้ (performance) คือ ผลิตภัณฑ์มีความสามารถในการใช้งานได้ตามหน้าที่ที่ได้ถูกกำหนดไว้ 
  • มีความสวยงาม (aesthetics) คือ สินค้าสามารถดึงดูดใจลูกค้าได้ในทุกๆด้าน ได้แก่ กลิ่น รสชาติ รูปร่าง ผิวสัมผัส สีสัน เป็นต้น
  • มีคุณสมบัติพิเศษ (special features) คือ ผลิตภัณฑ์ควรมีความโดดเด่นรวมทั้งมีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างจากสินค้าชนิดอื่นๆ
  • มีความสอดคล้อง (conformance) คือ ราคาและคุณภาพของผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมกัน
  • มีความปลอดภัย (safety) คือ มีความเสี่ยงอันตรายในการใช้ผลิตภัณฑ์ต่อผู้ใช้งานน้อยที่สุด
  • สามารถเชื่อถือได้ (reliability) คือ ผลิตภัณฑ์ควรใช้งานได้อย่างสม่ำเสมอ
  • ความคงทน (durability) คือ ระยะเวลาหรืออายุการใช้งานผลิตภัณฑ์ที่ยาวนานในระดับหนึ่ง
  • คุณค่าที่รับรู้ (perceived quality) คือ ผลิตภัณฑ์มีภาพลักษณ์ที่ดี และสามารถสร้างความประทับใจ แก่ผู้บริโภคได้
  • มีบริการหลังการขาย (service after sale) คือ ธุรกิจมีบริการหลังการขายที่ดีและต่อเนื่องแก่ผู้บริโภค ในการคงคุณสมบัติและการทำงานของผลิตภัณฑ์ให้มีความสมบูรณ์และมีคุณภาพ รวมไปถึงมีการรับฟังความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์
ถึงแม้ว่าคุณภาพที่ดีของผลิตภัณฑ์จะเป็นสิ่งที่จำเป็นทั้งต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค แต่เนื่องจากวัตถุประสงค์ของผู้ผลิตในการดำเนินธุรกิจ มีความแตกต่างกับวัตถุประสงค์การใช้ผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค ในสายตาของผู้ผลิตและผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์จึงมีมุมมองเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้าแตกต่างกัน ซึ่งทัศนะของผู้ผลิตกับลูกค้าสำหรับด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์สามารถสรุปได้ ดังนี้

ความหมายของคุณภาพที่ดีสำหรับลูกค้า

  • ผลิตภัณฑ์มีความสามารถในการใช้งานตาม คุณสมบัติที่ระบุไว้ได้อย่างดี
  • ผลิตภัณฑ์ที่ได้มามีคุณภาพและราคาที่เหมาะสม คุ้มค่าต่อการบริโภคของลูกค้า
  • ผลิตภัณฑ์ไม่มีอันตรายทั้งต่อทั้งผู้ใช้และต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งผู้ใช้สามารถใช้งานผลิตภัณฑ์ได้ตามที่ต้องการ
  • ผลิตภัณฑ์มีบริการหลังการขายจากผู้ผลิต สำหรับอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า รวมทั้งสำหรับรักษาสภาพสินค้าให้สมบูรณ์ตลอดช่วงระยะเวลาในการใช้งาน
  • ผลิตภัณฑ์สามารถสร้างความประทับใจ รวมไปถึงความภาคภูมิใจต่อผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ได้

ความหมายของคุณภาพที่ดีสำหรับผู้ผลิต

  • มีกระบวนการการผลิตที่ถูกต้อง ตั้งแต่ขั้นแรกจนถึงสิ้นสุดการผลิต
  • มีกระบวนการการผลิตที่ใช้แนวคิด zero defects คือการผลิตที่ไม่เกิดของเสียขึ้น หรือมีระดับการเกิดของเสียไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน
  • มีกระบวนการการผลิตที่ไม่เบี่ยงเบนจากมาตรฐานที่กำหนดไว้ และสามารถทำการผลิตได้อย่างถูกต้องตามตัวแปรที่ต้องการ
  • มีความเหมาะสมในด้านระดับต้นทุนการผลิต ทำให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าได้ในราคาที่เหมาะสมและยอมรับได้

การควบคุมคุณภาพ (quality control)  

เมื่อ “การควบคุม” และ “คุณภาพ” ถูกนำมารวมกันจะได้คำว่า การควบคุมคุณภาพ (quality control) ที่เป็นการจัดกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การคัดเลือกวัตถุดิบ กระบวนการออกแบบ กระบวนการผลิต หรือการตรวจสอบและทดสอบผลผลิต เพื่อสร้างคุณภาพและป้องกันการเกิดตำหนิแก่ผลิตภัณฑ์
โดยสรุปแล้วการควบคุมคุณภาพจึงหมายถึง กิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้ผลิตสามารถทำการผลิตสินค้าออกมาได้อย่างมีคุณภาพและเหมาะสมกับราคา มีความเรียบร้อย ประณีตสวยงาม และสามารถนำไปใช้งานได้อย่างดี

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

งานที่3 (ฝึกงาน)

งานที่4 (ฝึกงาน)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไมโครคอนโทรลเลอร์