งานที่4 (ฝึกงาน)

งาน4 นศ มีวิธีการขัดแย้งในการทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานอย่างไร

เริ่มแรกเรามาทำความเข้าใจกันก่อน ความขัดแย้ง หรือ การทะเลาะกัน ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเสมอไป เพราะเราเป็นมนุษย์ไม่ใช่เครื่องจักร จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่การคิดเห็นตรงข้าม ความเครียดจากสภาวะการแข่งขัน ปัญหาส่วนตัว หรือแม้กระทั่งวันที่ไม่เป็นใจ ก็สามารถนำไปสู่ความขัดแย้งในที่ทำงานได้
จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรทำความเข้าใจว่า ความขัดแย้งนั้นมีอยู่ 2 แบบ คือ
  • ารทะเลาะกัน หรือ การมีความขัดแย้งแบบสร้างสรรค์ กรณีนี้จะไม่กระทบต่อขวัญกำลังใจในการทำงาน ทั้งยังนำไปสู่แนวทางการแก้ปัญหาเชิงนวัตกรรม ส่วนใหญ่แล้วคนจะไม่มองว่ามันคือความขัดแย้ง แม้จริงๆ จะใช่ก็ตามที มุมมองที่ตรงกันข้าม ช่วงเวลาแห่งการระดมความคิด และพูดคุยเรื่องกลยุทธ์ สิ่งเหล่านี้คือความขัดแย้งเชิงสร้างสรรค์ในรูปแบบต่างๆ
  • การทะเลาะกัน หรือความขัดแย้งแบบบั่นทอน นี่คือสิ่งที่ส่งผลต่อการทำงาน ขวัญกำลังใจและความมีประสิทธิภาพในระยะยาว และรู้อะไรไหม หากจัดการไม่ดีแล้ว ความขัดแย้ง หรือการทะเลาะกันอย่างสร้างสรรค์ก็สามารถกลายเป็นความขัดแย้งแบบบั่นทอนได้ง่ายๆ เลย
เมื่อมีคนที่เราเห็นด้วย ก็ย่อมมีคนที่เราไม่เห็นด้วยเสมอ ไม่เป็นไรหรอก เคยกลอกตาเวลาต้องฟังใครพูดไหม? นั่นแหละสัญญาณแรกของปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข
เลิกหนีเสียเถอะ เพราะมันไม่มีวันไปไหน
ปัญหาส่วนใหญ่ไม่อาจแก้ไขได้ด้วยตัวเอง ที่จริงมันมักจะบานปลายอย่างรวดเร็วด้วยซ้ำ อย่ามัวแต่หลบหน้า ยิ่งคุณลงมือเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งแก้ได้ไวเท่านั้น มาดูวิธีกันเลย

1. ไม่เกี่ยวว่าใครจะถูกหรือผิด แต่คำถามคือ อะไรคือสิ่งที่ถูกที่ควรทำ

ใครๆ ก็ย่อมอยากเป็นฝ่ายถูก เป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะสนับสนุนความคิดของตัวเองเพราะว่ามันเป็นของคุณ ไม่สำคัญว่าจะใช้เวลาเพื่อแก้ต่างให้มันแค่ไหน แต่วิธีของคุณอาจไม่ใช่ทางที่มีประสิทธิภาพที่สุดก็ได้
การเป็นผู้ชนะไม่ได้พิสูจน์ว่าเพื่อนร่วมงานของคุณนั้นผิด แต่มันคือการหาประโยชน์เพื่อส่วนร่วม และแนวทางการแก้ไขให้เจอ จงจำไว้ว่าคุณไม่ได้กำลังต่อสู้กับฝ่ายตรงข้าม แต่คุณทั้งคู่กำลังต่อสู้กับปัญหาที่เกิดขึ้นต่างหาก หากทั้งสอง ทั้งคุณและเพื่อนร่วมงาน มีแนวความคิดนี้ ถึงแม้ว่าความคิดของคุณทั้งสองไม่ได้เหมือนกันสะทีเดียว แต่ เป้าหมายของคุณนั้นเหมือนกัน จากการทะเลาะกันเพื่อเอาชนะ ก็จะกลายเป็นการทะเลาะกันอย่างสร้างสรรค์เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดให้กับบริษัทของคุณ

2. ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน

อนจะเข้าไปมีส่วนร่วมในสงครามนี้ ลองถอยออกมาตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนในสิ่งที่คุณพยายามทำให้สำเร็จ การยึดเอาเป้าหมายของการสนทนานี้เป็นหลัก จะช่วยให้คุณวางเรื่องอารมณ์เอาไว้ แล้วมาสนใจสิ่งที่สำคัญจริง ๆ ได้
คุณแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นยังไง? ลองกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และหาทางที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย เช่น 
  1. ต้องการรวบรวมข้อมูล – รับฟัง
  2. ต้องการวิเคราะห์ถึงปัญหา – ทำความเข้าใจ
  3. ต้องการเสนอทางแก้ – พูดคุย
การตั้งเป้าหมายตอนจบเอาไว้ เป็นวิธีที่ดีสำหรับเข้าหาความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้น มองมันเป็นเรื่องของธุรกิจ อย่ามองเป็นปัญหาส่วนตัว

3. พูดคุยกันต่อหน้ากับเพื่อนร่วมงาน

ทำไมถึงพูดเรื่องนี้ในเมื่อเราสามารถโต้ตอบกันผ่านอีเมล์ที่จงใจยั่วโมโหได้เป็นสัปดาห์?
การจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นแบบเผชิญหน้าอาจเป็นเรื่องน่ากลัว แต่นั่นคือส่วนสำคัญอย่างยิ่งยวดของกลยุทธ์การแก้ปัญหาของคุณ
วิธีสื่อสารนั้นมีหลายทาง แต่การส่งอีเมล์หรือข้อความผ่าน Slack อาจทำให้เกิดการตีความที่ผิดพลาดได้ง่าย พยายามพัฒนาทักษะการเจรจาและทักษะการแก้ไขปัญหาด้วยการเผชิญหน้า และพูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน ไม่ใช่หลบหน้า
การสื่อสารผิดพลาด คือหนึ่งในสาเหตุหลักของความขัดแย้งในที่ทำงาน ซึ่งเราสามารถเลี่ยงปัญหานี้ได้ง่ายๆ ด้วยการเจอหน้ากัน หรือโทรศัพท์หาไปเลย

4. ยึดเอาความจริงเป็นหลัก

การยึดเอาความจริงเป็นหลักและตรวจดูให้แน่ใจว่าไม่มีความรู้สึกส่วนตัวหรือวาระอื่นใดเข้ามาอยู่ในสมการคือเรื่องที่สำคัญมาก ข้อเท็จจริงของเหตุการณ์นี้คืออะไร? พยายามจับสถานการณ์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ราวกับคุณมีกล้องวิดีโอสำหรับบันทึกภาพ ขอให้ฝ่ายตรงข้ามตรวจสอบข้อเท็จจริง แล้วดูว่าคุณเห็นด้วยกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงรึเปล่า
จู่ๆ ก็เป็นเรื่องส่วนตัว
ถ้าคุณเห็นด้วยกับความจริงที่เกิดขึ้น และพบว่าปัญหาเดียวที่มีคือเรื่องทัศนคติ ก็ถึงเวลาแล้วที่จะจัดการอารมณ์ของคุณ จงเลี่ยงคำว่า “คุณพูดว่า” อย่างสุดกำลัง เรามักจำความรู้สึกของตัวเองในสิ่งที่ถูกพูดถึงได้ แต่ไม่ใช่ข้อความจริง ลองใช้คำว่า “ฉันรู้สึกว่า…” แทนคำว่า “คุณพูดว่า” มันช่วยลบทุกแง่มุมของการกล่าวโทษออกจากบทสนทนา และไม่คาดเดาจุดประสงค์ของอีกฝ่ายด้วย พูดอีกแง่ก็คือพยายามพูดคุยเพื่อแก้ปัญหา ไม่ใช่พูดคุยเพื่อทำให้อีกฝ่ายผิด

5. ป้องกันความขัดแย้งในอนาคต

การเปลี่ยนการโต้เถียงที่เผ็ดร้อนให้กลายเป็นบทเรียนอันมีค่าไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ลองดูว่าคุณสามารถมองปัญหานั้นให้เป็นโอกาสสำหรับความเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาในเชิงบวกหรือไม่ คุณสามารถเรียนรู้อะไรได้บ้าง? ตัวคุณและสมาชิกในทีมจะได้ประโยชน์จากประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาได้อย่างไรบ้าง?
คราวหน้าคุณจะทำอะไรให้ต่างออกไป?
บางทีอาจถึงเวลาแล้วที่จะปรับรูปแบบการสื่อสารและระบบการจัดการตัวเอง หรือแค่ชัดเจนกับเจตจำนงของคุณให้มากขึ้น สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ นี่แหละสำคัญ หรือบางทีคุณแค่อยากลาไปพักผ่อน อยากทานข้าวเที่ยงกับทีมกับเพื่อนร่วมงาน? ไม่ก็วิธีที่ต่างออกไปในการรับมือกับเรื่องยุ่งยากซับซ้อน?
การจัดการความขัดแย้งยังก่อให้เกิดความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างคุณกับความขัดแย้งเอง  นี่เป็นทักษะสำคัญด้านสังคมที่ควรมี และคุ้มค่าที่จะพัฒนา

6. ปล่อยมันไป

บางครั้งก็เป็นไปไม่ได้ที่จะเปลี่ยนผลลัพธ์ของปัญหาที่เกิดขึ้น แต่คุณสามารถเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อมันได้ เพื่อนร่วมงานบางคน หรือ เรื่องบางเรื่องก็ไม่คุ้มค่าที่คุณจะเปลืองพลังของคุณหรอกนะ
ยอมรับความผิดพลาด อย่าพูดขอโทษตามมารยาท แต่จงขอโทษเมื่อคุณรู้สึกอย่างนั้นจริง ๆ จิตสำนึกความรับผิดชอบเป็นทักษะทางสังคมที่สำคัญ และมันอาจเปลี่ยนความสัมพันธ์ของคุณกับเพื่อนร่วมงานได้อย่างมาก แถมยังช่วยให้สภาพแวดล้อมในการทำงานดีขึ้นได้ด้วย
สรุปง่ายๆก็คือ อะไรที่คุณเปลี่ยนไม่ได้ก็จงปล่อยผ่านมันไปซะ มาหาทางออกที่ดีที่สุดในการพูดถึงปัญหากวนใจนั้นดีกว่า เนื่องจากเพื่อนร่วมงานบางคนนั้นอาจจะทำงานในสไตล์ที่คนหลาย ๆ คนอาจจะรับมือยากจนเกินไป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

งานปฎิบัติ 6

งานที่3 (ฝึกงาน)

งานปฏิบัติที่ 10